การจมน้ำเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เด็กไทยเสียชีวิตสูงเป็นอันดับหนึ่งมาตลอด โดยช่วงปิดเรียนภาคฤดูร้อน ระหว่างเดือนมีนาคม - พฤษภาคม พบเด็กจมน้ำมากที่สุด เพราะอากาศร้อน เด็ก ๆ จะชวนกันไปเล่นน้ำทำให้มีเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี จมน้ำเสียชีวิตมากที่สุด โดยในแต่ละปีมีเด็กจมน้ำ ประมาณ 1,400 คน เฉลี่ยวันละ 4 คน ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการเสียชีวิต คือ ตัวเด็ก แหล่งน้ำ ผู้ดูแล สภาพปัญหาเกิดจากการพัฒนาระบบเฝ้าระวังในชุมชน พื้นที่เสี่ยงทั้งเป็นแหล่งน้ำในบ้านและแหล่งน้ำสาธารณะ ทางน้ำผ่านในฤดูน้ำหลาก ผู้ดูแลผู้ปกครองขาดความตระหนัก เด็กขาดความรู้และทักษะเกี่ยวกับการช่วยเหลือเด็กจมน้ำ ขาดการฝึกทักษะชีวิต ในการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด และการลอยตัวในน้ำ
อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ โดยกระทรวงมหาดไทยมีนโยบายให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานภาคการศึกษาสนับสนุนให้เด็ก อายุ 5 ปีขึ้นไป ได้เรียนว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดและรู้จักวิธีการช่วยเหลือคนจมน้ำที่ถูกต้อง ดังนั้น สำนักปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยไร่โดยงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้เล็งเห็นความสำคัญในการป้องกันและลดปัญหาที่เกิดขึ้น จึงได้จัดทำโครงการป้องกันการจมน้ำ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณดำเนินการจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลห้วยไร่
4.วัตถุประสงค์ (เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
1. เพื่อสร้างมาตรการป้องกันการจมน้ำในเด็ก(อายุ 10 ปี แต่ไม่เกิน 15 ปี) คือการลอยตัว การใช้ชูชีพ
ช่วยเหลือปฐมพยาบาล สอนให้เด็กรู้วิธีเอาตัวรอดในน้ำเมื่อตกน้ำ
2. เพื่อให้เด็กรู้จักวิธีการช่วยเหลือ การใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือที่ถูกต้อง โดยการตะโกน โยน ยื่น
3. เพื่อลดอัตราการสูญเสียชีวิต อันเนื่องมาจากการจมน้ำของเด็ก
5.วิธีดำเนินการ (ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
1. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ การป้องกันและช่วยเหลือเด็กจมน้ำ
2. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ สามารถช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน(Basic Life Support)
3. การสำรวจและจัดทำข้อมูลแหล่งน้ำที่เสี่ยงทั้งในบ้าน รอบบ้าน ละแวกบ้านและในชุมชน สภาพแหล่ง
น้ำ เช่น น้ำลึก น้ำตื้น น้ำวน ปรากฎการณ์ Rip Current
4. มีการติดป้ายประกาศเตือนตามจุดเสี่ยงต่าง ๆ และจัดหาอุปกรณ์ ในการช่วยเหลือเด็กจมน้ำ เช่น
เชือก ไม้ แกลลอน เป็นต้น
5. ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน
6. สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วน
ตำบลห้วยไร่
|