โครงการ อบรมเพิ่มศักยภาพอาสาสมัครป้องกันไฟป่าและหมอกควัน ประจำปี 256๖
องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยไร่ อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ
.................................................................
1. หลักการและเหตุผล
ด้วยสาเหตุหลักที่ทำลายพื้นที่ป่าอย่างรวดเร็ว และเป็นการทำลายสภาพสมดุลของระบบนิเวศอย่างมหาศาล คือไฟป่าซึ่งให้เกิดการสูญเสียโครงสร้างของป่าและระบบนิเวศป่าไม้ โดยการเกิดไฟป่าแต่ละครั้งจะทำลายลูกไม้ กล้าไม้เล็ก ๆ ในป่า ทำให้หมดโอกาสเติบโตเป็นไม้ใหญ่ ส่วนต้นไม้ใหญ่ก็จะหยุดการเจริญเติบโต เนื้อไม้เสื่อมคุณภาพลง สภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์จะเปลี่ยนสภาพเป็นพื้นที่โล่ง ทำให้สัตว์ป่าไม่มีที่อยู่อาศัย นอกจากการเกิดไฟป่าจะมีผลกระทบต่อการทำลายป่าให้เหลือลดน้อยลงแล้วยังก่อให้เกิดมลภาวะทางอากาศ และภัยแล้งตามมาอีกด้วย อีกทั้งไฟป่ายังเป็นสาเหตุหลักของการทำลายแหล่งเก็บกักก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นก๊าซที่ทำให้เกิดปรากฎการณ์เรือนกระจก (Greenhouse Effect) ทำให้เกิดความผันแปรของสภาวะภูมิอากาศของโลก (Climate Change) ส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อน (Global Warming ) และฝุ่นละอองขนาดเล็ก(PM๒.๕)
ด้วยสาเหตุดังกล่าวองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยไร่ มีพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดไฟป่า จึงควรที่จะได้มีการเตรียมความพร้อมในการป้องกันไฟป่าและควบคุมหมอกควัน และในปัจจุบันงานควบคุมไฟป่าในพื้นที่ ป่าสงวนแห่งชาติเป็นภารกิจหนึ่งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับการถ่ายโอน ผลสำเร็จของงานควบคุมไฟป่าในท้องถิ่นจึงขึ้นอยู่กับความร่วมมือกันของชุมชน เริ่มตั้งแต่การป้องกันมิให้เกิดไฟป่าขึ้น ด้วยการการวางแผนป้องกันที่ต้นเหตุของปัญหาก็จะทำให้ปัญหาไฟป่าที่เกิดขึ้นได้รับการแก้ไขไม่ให้เกิดขึ้น หรือถ้าเกิดไฟป่าขึ้นก็ช่วยบรรเทาความเสียหายต่อพื้นที่ป่าไม้และสภาพแวดล้อม ซึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้ให้ความสำคัญกับการป้องกันและควบคุมไฟป่า โดยเริ่มจากอาสาสมัครป้องกันไฟป่า องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยไร่จึงได้จัดทำ โครงการ อบรมเพิ่มศักยภาพอาสาสมัครป้องกันไฟป่าและหมอกควัน ประจำปี 256๖ ขึ้น
2. วัตถุประสงค์โครงการ
2.1 เพื่อพัฒนาเครือข่ายอาสาสมัครป้องกันไฟป่าที่ผ่านการฝึกอบรม รวมสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์
สิ่งแวดล้อม และป้องกันไม่ให้เกิดไฟป่าในพื้นที่
2.2 เพื่อฝึกอบรมพัฒนา ความรู้ ทักษะใช้อุปกรณ์ดับไฟป่าใหม่ๆ อุปกรณ์ทำแนวกันไฟป่าเพื่อลดผลกระทบ
ที่จะเกิดจากไฟป่าที่เกิดขึ้น และมีอาสาสมัครที่มีความรู้สามารถปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมไฟป่า
ในพื้นที่ที่มีประสิทธิภาพ
2.3 เพื่ออาสาสมัครป้องกันไฟป่าและหมอกควัน พัฒนาความรู้ การป้องกันตัวและเอาตัวรอดในขณะ
ปฏิบัติหน้าที่
๒.๔ สามารถนำความรู้ ความสามารถไปบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างหมู่บ้านชุมชน ส่วนราชการที่
เกี่ยวข้องในการส่งเสริมความรู้ป้องกันควบคุมไฟป่าได้
3. เป้าหมาย
อาสาสมัครเครือข่ายความร่วมมือในการควบคุมไฟป่า/อปพร./กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน จำนวน 50 คน
๔. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันที่ ๑๗ เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 25๖๖
/5. สถานที่ฝึกอบรม...
-๒-
5. สถานที่ฝึกอบรม
ห้องประชุมเอนกประสงค์องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยไร่
6. หน่วยงานรับผิดชอบ
-งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำนักปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยไร่
-สถานีควบคุมตาดโตน-ภูแลนคา อุทยานแห่งชาติตาดโตน สนับสนุนทีมวิทยากรให้ความรู้ผู้เข้ารับการ
ฝึกอบรม
7. งบประมาณ
ตามข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 256๖ แผนงานสร้างความเข้มแข็งของชุมชน งานบริหารงานทั่วไปเกี่ยวกับสร้างความเข้มแข็งของชุมชน งบดำเนินงาน ค่าใช้สอย โครงการอบรมเพิ่มศักยภาพอาสาสมัครป้องกันไฟป่าและหมอกควัน ตั้งไว้ ๒๐,000 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการอบรมเพิ่มศักยภาพอาสาสมัครป้องกันไฟป่าและหมอกควัน
8. วิธีการดำเนินงาน
8.1 งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยสำนักปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยไร่ จัดทำโครงการ
เสนอผู้บังคับบัญชาเพื่อขออนุมัติดำเนินการ
8.2 คัดเลือกราษฎรในพื้นที่ หรืออาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.)
8.3 ประสานงานขอรับการสนับสนุนวิทยากร จากหน่วยงานที่มีความรู้ในการป้องกันและ
ควบคุมไฟป่า
8.4 ประชุมคณะกรรมการดำเนินงานโครงการ อาสาสมัครป้องกันไฟป่าตำบลห้วยไร่ และ
มอบหมายภารกิจในการดำเนินการ
8.5 งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำนักปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยไร่ ดำเนินการจัด
โครงการฯ
๘.๖ ให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีส่วนร่วมในการแสดงข้อคิดเห็นแนวทางแก้ไข การเกิดไฟป่าพร้อมประเมินผลการ
ฝึกอบรมโดยใช้การกรอกแบบสอบถาม
9. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
อาสาสมัครป้องกันไฟป่าและหมอกควันที่เข้ารับการฝึกอบรมได้รับการพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ และเทคนิคในการดับ และการป้องกันตัวจากการปฏิบัติหน้าที่ ร่วมสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ และตระหนักถึงผลเสียของการเกิดไฟป่า พร้อมทั้งเกิดความสามัคคีของอาสาสมัคร ที่จะช่วยเหลือในการป้องกันไฟป่า การอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสามารถถ่ายทอดความรู้ไปสู่กลุ่มเป้าหมายอื่นๆ
|